วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อ่านให้เข้าใจ เพราะ ถ้าเคยใช้ครีมหน้าขาวที่มันอันตราย

..วิธีแก้ไขและการถอนยา...

1. ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าครีมแก้ฝ้าที่เราใช้อยู่มีสารไฮโดรควิโนนหรือเปล่า?
- หากคุณสงสัยว่าครีมที่คุณใช้มีสารไฮโดรควิโนนหรือไม่นั้น สามารถทดสอบด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้คะ
*** เพียงเอาคอททอลบัท ป้ายครีมบางๆให้ทั่วแล้วจุ่มลงไปในน้ำผงซักฟอกเข้มข้นสักครู่แล้วเอามาวาง ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที ถ้าครีมเปลี่ยนเป็นสีโกโก้หรือสีน้ำตาลเข้ม ให้สันนิฐานว่า "ครีมดังกล่าวมีสารที่เป็นอันตรายต่อผิวหน้าแน่นอนค่ะ" ***

2. หากคุณได้ทดสอบดูแล้วว่าครีมที่ใช้มีสารไฮโดรควิโนนผสมอยู่จะทำยังไงดี?
(นี่คือคำเตือนและคำแนะนำคะ)
- อย่าหยุดใช้ครีมนั้นเด็ดขาด เพราะการที่การหยุดยาฝ้าที่มีสารไฮโดรควิโนนทันทีจะทำให้ฝ้าขาดยากะทันหัน อาจเกิดอาการที่เรียกว่า "ฝ้าลงแดง ( Rebound Phenomenon )" และฝ้าอาจกลับมาเข้มเหมือนเดิมได้หรือมากกว่าเดิมได้คะ

-- หลายคนคงมีคำถามที่ว่า แล้วจะทำยังไงหละ? หรือ ให้ใช้ต่อคงไม่เอาแล้วหละ? โปรดจำไว้ว่าอย่าได้หยุดทาหรือทิ้งครีมนั้นไปเลยอย่างเด็ดขาด แต่ให้ใช้วิธีดังนี้คะ
- ครีมตัวอื่นๆที่ไม่มีสารให้ทาตามปกติทั้งเช้าและก่อนนอน เป็นประจำทุกวัน
- ครีมที่มีสารให้ทาทั่วหน้า ก่อนนอนหากคุณฝ้าหนาทั่วหน้า และ ทาเฉพาะบริเวณที่เป็นฝ้าหากคุณมีฝ้าเป็นหย่อมๆ (เว้นร่องจมูก มุมปากหรือผิวที่อ่อน) เป็นวันเว้นวัน โดยทาครีมอื่นๆ ก่อน แล้วใช้ครีมที่มีสารเป็นตัวสุดท้าย
- หลังจากนั้น ให้ลดการใช้ครีมที่มีสารลงอีกเป็น 2-3 วันครั้ง
- เมื่อหน้าดีขึ้นแล้ว ให้ใช้คอททอลบัทป้ายครีมที่มีสาร ทาเฉพาะบริเวณที่เป็นฝ้า(ปล.กรุณาอย่าใช้มือเด็ดขาด) วันละครั้งก่อนนอนเป็นตัวสุดท้าย(สำหรับคนที่เป็นฝ้าหนา) และวันเว้นวัน (สำหรับคนที่เป็นไม่มาก)
- สำหรับคนที่ใช้วิธีเหล่านี้แล้วหรือทาครีมที่มีสารแล้วหน้าแดง ถึงแดงมาก ให้ใช้ครีมที่มีสาร ทาทั้วหน้าทิ้งไว้ 30 นาทีแล้วล้างออก(หากคุณฝ้าหนาทั่วหน้า) ทาเฉพาะบริเวณที่เป็นฝ้า(หากคุณมีฝ้าเป็นหย่อมๆ) ถ้าหน้าไม่แดงแล้วก็เพิ่มเวลาขึ้นได้คะแต่ยังไงต้องล้างออกนะคะ แล้วก็ทาครีมอื่นๆตามปกติ
- เมื่อฝ้าเริ่มจาง ผิวหน้าดีขึ้นก็อย่าพึ่งดีใจจนลืมทาครีมที่มีสารนะคะ แต่ให้ใช้เป็นสัปดาห์ละครั้งแทนคะ
- เมื่อหน้าดีขึ้นแล้ว ทีนี้ก็สามารถหยุดใช้ครีมที่มีสารได้เลยคะ (เย้ๆ) แต่ยังไงซะก็อย่าลืมถอนยาต่อนะค่ะ

เครื่องเชวสำอางอันตราย74ชนิด‏



เครื่องเชวสำอางอันตราย74ชนิด

สำหรับเครื่องสำอางที่มีสารอันตราย 40 ยี่ห้อ ห้ามใช้เด็ดขาด ประกอบด้วย 1.ไพรสด สมุนไพรธรรมชาติ ลดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ 2.Second Cream ตรา Magnate
3.ครีมทาฝ้าชาเขียว ตรา Magnate
4.โลชั่น วินเซิร์ฟ ลดฝ้า กันแดด
5.ครีมวินเซิร์ฟ
6.เอ็ดการ์ด โลชั่นกันแดดผสมอัลลันโทอิน
7.EASY Herb Night Bright Melasma Cream ครีมแต้มฝ้า กระ จุดด่างดำ สำหรับกลางคืน
8.ครีมสมุนไพรว่านนางสาว
9.เอสจี โลชั่นปรับสภาพผิว
10.ครีมสมุนไพรมะขาม
11.Mena FACIAL CREAM
12.ครีมสมุนไพรมะเขือเทศ
13.ครีมสมุนไพรมะนาว
14.ครีมกันแดด สมุนไพรแตงกวา สูตรพิเศษ 15.SOW ทาฝ้ารอยดำ (ตลับชมพู)
16.BEST BEAUTY ครีมประทินผิวลดรอยดำ
17.เบสท์โลชั่น โลชั่นปรับสภาพผิว
18. 3 P โลชั่น
19.ฝ้า กระ PIGMENT
20.WHITENING CREAM ครีมมุกหน้าขาว
21.VOLK Intensive Lifting Cream USA
22.IFSA
23.ครีมข้นเหนียวสีส้ม
24.ครีมข้นเหนียวสีน้ำตาล
25.เครื่องสำอางครีมหน้าใส IFSA
26.เครื่องสำอางครีมชาเขียว DR.JAPAN
27.The Winner สมุนไพรมะขาม Tamarine Cream สูตรเข้มข้น
28.ครีมสมุนไพร
29.ครีมทาปาก หัวนมชมพูก่อนนอน
30. ยารักษาฝ้า เช้า-ก่อนนอน
31.ทาใต้รักแร้ ง่ามขาดำ ก่อนนอน
32.พรีม เมลาโนไวเทนเนสส์ เอ
33.พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน
34. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล ฝ้าปานกลาง สูตรขาวเนียน
35. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน
36. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล อี พลัส ครีมทาสิว ฝ้า
37.ครีมลูกยอผสมน้ำผึ้ง white noni & honey cream 38.สมุนไพรแตงกวา
39. สีเขียว 4 (เครื่องสำอางกึ่ง สำเร็จรูปพร้อมบรรจุ เป็นครีมข้นสีเขียว)
40. สีเหลืองขมิ้น 5 (เครื่องสำอางกึ่ง สำเร็จรูปพร้อมบรรจุ เป็นครีมข้นสีเหลือง)

อันตรายจากเครื่องสำอาง





อันตรายจาก เครื่องสำอาง
ถึงแม้ว่า เครื่องสำอาง จะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่บางครั้งผู้บริโภคใช้ เครื่องสำอาง แล้วอาจเกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณที่สัมผัสกับ เครื่องสำอาง โดยตรง อาจเกิดอาการได้ตั้งแต่ ระคายเคือง คัน แสบ ร้อน บวมแดง เป็นผื่น ผิวแห้งแตก ลอก ลมพิษ หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นแผลพุพอง น้ำเหลืองไหล แต่บางครั้งอาจพบความผิดปกติในบริเวณที่ไม่ได้สัมผัสกับ เครื่องสำอาง โดยตรงก็ได้ เช่น คันบริเวณเปลือกตา เนื่องจากแพ้สีทาเล็บที่ไปสัมผัสเปลือกตาโดยบังเอิญ
สาเหตุของการเกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์
สาเหตุของการเกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์เหล่านี้ ได้แก่
1. อันตรายจากตัวผลิตภัณฑ์ เช่น
เป็น เครื่องสำอาง ที่เก่า เสื่อมสภาพแล้ว อาจเนื่องจากผลิตมาเป็นเวลานาน หรือการเก็บรักษาไม่ดีพอ
เป็น เครื่องสำอาง ที่ไม่ปลอดภัย มีการลักลอบผสมสารห้ามใช้ จะสังเกตได้ว่ามักจะแสดงฉลากภาษาไทยไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะไม่แสดงแหล่งผลิต หรือวันเดือนปีที่ผลิต
สูตร ส่วนประกอบ หรือกรรมวิธีผลิตไม่เหมาะสม
2. การใช้ผิดวิธี ก่อนใช้ เครื่องสำอาง ควรอ่านวิธีใช้ที่ฉลากให้เข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ใช้ให้ถูกคน ถูกเวลา ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะถ้าเป็น เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ หรือเครื่องสำอางควบคุม มักจะมีคำเตือนและข้อควรระวัง รวมทั้งการทดสอบการแพ้ก่อนใช้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
การใช้ เครื่องสำอาง ผิดวิธี ได้แก่
การโรยแป้งฝุ่นลงบนตัวทารกโดยตรง ผงแป้งจะฟุ้งกระจายไปทั่ว เมื่อเด็กสูดลมหายใจ จะได้ผงแป้งไปสะสมในปอด เป็นอันตรายต่อปอด
การใช้ เครื่องสำอาง ในปริมาณที่มากเกินไป หรือบ่อยเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้
เครื่องสำอาง ที่ระบุให้ใช้แล้วล้างออก ถ้าไม่ล้างออก ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
การใช้ผิดเวลา เช่น ระบุให้ทาก่อนนอน (เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับแสงแดด) หากทาในตอนกลางวัน เมื่อโดนแสงแดด ก็อาจเกิดอันตรายได้
ใช้ เครื่องสำอาง แล้วไม่ปิดภาชนะบรรจุให้สนิท อาจมีฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคลงไปปนเปื้อนได้
3. ตัวผู้บริโภคเอง เช่น
วัยของผู้ใช้ เด็ก และผู้สูงอายุ ผิวหนังจะบอบบางและแพ้ง่ายกว่าวัยอื่น
ตำแหน่งของผิวหนัง ผิวหนังบริเวณใบหน้า โดยเแพาะรอบดวงตา/ริมฝีปาก จะบอบบางกว่าบริเวณอื่น อาจเกิดการแพ้ หรือระคายเคืองได้ง่าย
การแพ้เฉพาะบุคคล เช่น แพ้น้ำหอม หรือสารกันเสีย บางชนิด
ความประมาทในการใช้เครื่องสำอาง เช่น แชมพูเข้าตาเวลาสระผม / ใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น แล้วติดเชื้อโรคมาด้วย / แต่งหน้าขณะอยู่ในรถ อาจเกิดอุบัติเหตุได้
บางครั้งเมื่อผู้บริโภคเลือกซื้อและใช้ เครื่องสำอาง ด้วยความระมัดระวังแล้ว ก็ยังอาจเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่ พึงประสงค์ได้บ้าง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. การระคายเคือง (Irritation) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (irritants) เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรด หรือด่างสูงๆ (น้ำยาดัดผม , ผลิตภัณฑ์กำจัดขน , ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออกเร็วขึ้น) ความรุนแรงของการระคายเคืองจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร และระยะเวลาที่สารสัมผัสกับผิว การระคายเคืองนั้นเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน และพบได้บ่อยกว่าการแพ้
2. การแพ้ (Allergy) เป็นปฏิกิริยาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกายของแต่ละคน จึงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ผู้บริโภคอาจเกิดความผิดปกติขึ้นทันทีที่สัมผัสกับสารที่ก่อให้เเกิดการแพ้ (Allergen) หรือมีอาการภายหลังก็ได้ และผู้ที่แพ้สารใดแล้ว เมื่อสัมผัสกับสารนั้นเพียงเล็กน้อยก็จะเกิดอาการแพ้ขึ้นได้
สารที่พบว่าก่อให้เกิดการแพ้ได้บ่อยเป็นอันดับหนึ่ง คือ สารแต่งกลิ่นหอม (fragrance / perfume) รองลงมาได้แก่สารกันเสีย (preservatives) และสารป้องกันแสงแดด (sunscreens)
ขณะนี้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้วยข้อความ "ไฮโป-อัลเลอร์เจนิก (Hypoallergenic)" หรือข้อความอื่นๆที่สื่อความหมายในทำนองเดียวกัน เช่น ผ่านการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนัง , ผ่านการทดสอบการแพ้ (dermatologist test/ allergy test) ข้อมูลเหล่านี้มาจากผู้ประกอบธุรกิจ จึงมักจะเน้นแต่ข้อดีของผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะเรื่องการแพ้ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่สามารถรับประกันได้ว่าไม่ก่อให้เกิดการแพ้ ดังนั้น ผู้บริโภคพึงไตร่ตรองข้อมูลต่างๆอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์


ที่มาจาก : http://web.nfe.go.th/index/content/beauty_013.html